ลักษณะของครอบครัวอบอุ่น คือ…
-
-
- มีการวางขอบเขตอย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะทั้งขอบเขตส่วนบุคคล หรือขอบเขตในครอบครัว
- เกิดความผูกพันทางอารมณ์อย่างเหมาะสม คือ ไม่ห่างจนเกิน ไป หรือไม่ใกล้ชิดจนเกินไป สมาชิกในครอบครัวที่ดีจะต้องคงความเป็นตัวของตัวเอง แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีน้ำหนึ่งใจเดียวกับครอบครัวได้
- มีการจัดลำดับอำนาจ แบ่งความเป็นผู้นำอย่างชัดเจน
- สมาชิกแต่ล่ะคนในครอบครัวมีบทบาทชัดเจน สามารถปฏิบัติหน้าที่นั้นได้อย่างสอดคล้อง
- การปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวมีต้องความยืดหยุ่น เหมาะสม ไม่ตึงจนเกินไป
- สามารถแก้ไขความขัดแย้งในครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- จัดระบบภายในครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มีการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความสัมพันธ์ดีต่อกันและกัน
- สมาชิกในครอบครัวใช้เวลาร่วมกัน
การมีความอบอุ่นในครอบครัวนั้นดีอย่างไร ?
การสร้างความรัก ความอบอุ่นในครอบครัวอย่างเหมาะสม มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน ให้พื้นที่ส่วนตัวอย่างพอดี จะเป็นเสมือนเกราะป้องกันให้สมาชิกในครอบครัวห่างไกลจากความรุนแรง มีแต่ความสุขกับการที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ไม่เป็นพัฒนาจนกลายเป็นปัญหาสังคม รวมทั้งเป็นพื้นฐานในการสร้างความมั่นคงให้กับสังคมสืบต่อไป
ผู้นำของครอบครัว
ทุกครอบครัวต่างล้วนมีผู้นำซึ่งเป็นผู้ตัดสินใจและแก้ไขปัญหาต่างๆ ผู้นำนี้ไม่ควรถูกมอบให้แก่ใครคนใดคนหนึ่ง เช่น พ่อหรือแม่ไม่ควรเป็นผู้นำคนเดียว เนื่องจากถ้าครอบครัวตกอยู่ในปัญหาใหญ่ บุคคลทั้ง 2 จำเป็นต้องร่วมแก้ไขปัญหาด้วยกัน จากข้อมูลของครอบครัวของซึ่งมีลูกวัยรุ่นในประเทศแคนาดา พบว่า วัยรุ่นในครอบครัวซึ่งพ่อ-แม่เป็นผู้นำแบบร่วมกัน จะมีความมั่นคงทางอารมณ์มากกว่า คนที่มาจากครอบครัวซึ่งพ่อหรือแม่เป็นผู้นำคนเดียว
เพราะฉะนั้น ถ้าต้องการมีครอบครัวอบอุ่น สมาชิกในครอบครัวต้องมีบทบาทความเป็นผู้นำในหน้าที่แตกต่างกันไป เช่น แม่จะเป็นผู้นำในเรื่องการดูแลเรื่องชีวิตประจำวัน เช่น ดูแลเรื่องอาหาร ส่วนพ่อจะเป็นผู้นำเรื่องสำคัญๆ เช่น เรื่องค่าใช้จ่ายในบ้าน เป็นต้น เมื่อไหร่ก็ตามถ้าเกิดปัญหาความขัดแย้ง คนในครอบครัวจะต้องช่วยกันแก้ไขให้ปัญหานั้นกลับคืนสู่สภาพปกติโดยเร็วที่สุด โดยมี 3 วิธี ดังนี้
การร่วมมือกัน โดยสมาชิกจะต้องหันหน้าพูดคุยถึงปัญหาอย่างตรงไปตรงมา เพื่อหาการแก้ไขถูกต้องและเหมาะสม
การยอมเพื่อจบปัญหา โดยให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมลดลาวาศอกให้อีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อยุติความขัดแย้ง หรือเพื่อไม่ให้ปัญหาเลยเถิดมากขึ้น
การพยายามเอาชนะซึ่งกันและกัน พยายามชิงว่าใครใหญ่กว่าใคร ใครแพ้ ใครชนะ ซึ่งไม่ทำให้ปัญหาจบลงได้ แต่จะทำให้สถานการณ์มีความรุนแรงมากกว่าเดิม เนื่องจากการแก้ไขปัญหาด้วยการเอาชนะด้วยอารมณ์นั้น ไม่ใช่วิธีการที่ได้ผล ยิ่งถ้ามีบุคคลที่ 3 เข้ามาเกี่ยวก็จะทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาอย่างไม่รู้จบ
-