ความหมายของคำว่า ครอบครัวที่อบอุ่นอย่างถูกต้อง

‘ครอบครัว’ จัดเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม ซึ่งเป็นหน่วยขนาดเล็กที่สุด อันประกอบไปด้วยสมาชิกตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมาอยู่รวมบ้านเดียวกัน ช่วยกันดูแลรักษา,ออกค่าใช้จ่ายภายในบ้านร่วมกัน อีกทั้งครอบครัวยังจัดเป็นรากฐานหรือสถาบันสำคัญ ของสังคม อันจะมอบการศึกษาพร้อมอบรมสั่งสอนเลี้ยงดูบุตร รวมทั้งสร้างประสบการณ์ในด้านต่างๆ ให้แก่สมาชิกซึ่งอาศัยอยู่ร่วมกัน ตั้งแต่วัยทารกจนกลายมาเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์

โดยกลุ่มคนที่มาอยู่ร่วมกันนี้ อาจมีความสัมพันธ์ทางสายเลือดหรือไม่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดโดยตรงก็ได้ ซึ่งประกอบไปด้วยบุคคล 2 คนแต่งงานกัน , บุตร , ปู่ย่า – ตายาย รวมทั้งบุคคลอื่นๆซึ่งมาอาศัยอยู่ร่วมกัน โดยบุคคลเหล่านี้ จะถูกสานสัมพันธ์ไปด้วยความรัก , ความห่วงใย และดำรงบทบาทหน้าที่ของตนเพื่อการดำรงอย่างผาสุกอยู่ของครอบครัว

บทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว

คือ การที่สมาชิกในครอบครัวดูแลซึ่งกัน ในทางเหมาะสม พร้อมมอบสิทธิความเป็นมนุษย์ขั้นพื้นฐานให้ โดยประกอบด้วยการมอบความรักความอบอุ่น , การให้กำลังใจ , การเอาใจใส่ , การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของครอบครัว , การมอบการศึกษา , การอบรมสั่งสอน , วางระเบียบกฎเกณฑ์ทางสังคม , ให้ความคุ้มครอง , ดูแลรักษาเมื่อยามเจ็บป่วย เป็นต้น

  • ดูแลทางด้านเสรีภาพ เช่น การเลี้ยงดูเอาใจใส่ , ให้รับประทานอาหาร , ให้ที่พักอาศัย , ให้เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น
  • เป็นแหล่งพักพิงของทั้งร่างกายและจิตใจ
  • แบ่งหน้าที่ในการทำงานให้แก่สมาชิกในครอบครัว เช่น จัดแบ่งว่าใครจะทำอะไรและเมื่อบุคคลนั้นได้รับหน้าที่แล้วจะต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด เช่น พ่อเป็นผู้หารายได้ ลูกเป็นผู้ทำความสะอาดบ้าน แม่เป็นผู้ดูแลบุตรหรือสมาชิกคนอื่นๆในครอบครัว เป็นต้น
  • กิจกรรมสานสายใย คือ การจัดช่วงเวลาให้ครอบครัวบ้าง ให้สมาชิกได้ร่วมพบปะ , พูดคุย ต่อกัน หรือทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้เกิดสานสัมพันธ์อันแน่นเฟ้นภายในครอบครัว
  • สร้างสมาชิกใหม่ ครอบครัวจะต้องมีการวางแผนในการให้กำเนิดบุตร ทั้งทางด้านการเงิน การเลี้ยงดู การมอบอิสระตามสมควร เพื่อให้เขาเติบโตมาอย่างมีความสุข
  • ต้องระเบียบ ในการบริหารในครอบครัว เพื่อให้ทุกคนอยู่อย่างมั่นคง

ครอบครัวจำเป็นต้องแรงจูงใจ และมีศีลธรรม เช่น ครอบครัวควรสร้างแรงจูงใจให้แก่สมาชิก มีการสนับสนุนรางวัลให้แก่สมาชิกตามความเหมาะสม เพื่อเป็นกุญแจอันนำไปสู่ความสำเร็จต่างๆ อีกทั้งครอบครัวควรมีการฝึกให้สมาชิกทุกคนมีความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งเป็นรากฐานอันสำคัญของชีวิต มีความรักใคร่ต่อกัน สร้างเกราะเพื่อไม่ให้สมาชิกคนใดคนหนึ่งหลงเดินทางผิด และเมื่อถึงคราวต้องเผชิญกับปัญหา ซึ่งเป็นภาวะวิกฤตอันรุนแรง สมาชิกในครอบครัวทุกคน ก็ควรเตรียมพร้อมในการเผชิญหน้ากับอุปสรรค พร้อมหาทางออกจากปัญหาร่วมกัน