บทบาทของหลานที่มีต่อปู่ย่า

ลูกหลานมีบทบาทสำคัญในการดูแลปู่ย่า – ตายายของตนเองไม่แพ้กับคนเป็นพ่อเป็นแม่ พวกท่านเปรียบเสมือนกับพ่อแม่คนที่สองที่มักจะคอยเอาใจใส่บุตรหลานเป็นพิเศษ ท่านมักจะใจอ่อนคอยเป็นที่พึงให้กับหลานตลอดเวลา ในยามที่ถูกพ่อแม่ดุก็มักจะออกรับหน้าแทนให้ ในสังคมไทยเราเห็นตัวอย่างได้ชัดเลยว่าส่วนใหญ่มักจะเอาลูกให้พ่อแม่ตนเองเลี้ยง ส่วนตนเองก็ไปทำงานเพื่อส่งเงินมาเป็นค่าเลี้ยงดู จึงบอกได้ว่าเด็กไทยส่วนใหญ่มักจะใช้ชีวิตอยู่กับปู่กับย่ามากกว่าพ่อแม่เสียอีก

ด้วยความเสียสละความสุขส่วนตัวของพวกท่านที่ยอมเหนื่อยให้หลานได้มีกิน ได้สุขสบาย เปรียบเสมือนกับความรักที่มีต่อลูกของคนเป็นพ่อเป็นแม่ จึงไม่แปลกที่เราจะตีความได้ว่าท่านรักหลานเหมือนกับลูกของตนเอง บางครั้งคนเป็นพ่อแม่ก็อาจมองว่าความใจดีของท่านอาจเป็นปัญหาได้ จนบางครั้งก็เกิดบานปลายเป็นความบาดหมางกันในครอบครัวก็มี เราได้ยกตัวอย่างถึงบทบาทของคนเป็นปู่ และ ย่าที่มีต่อหลานอย่างชัดเจน ส่วนในวันนี้เราจะมาดูบทบาทของหลานมีต่อปู่ย่าว่ามีอะไรกันบ้าง

Grandchildren

5 บทบาทสำคัญที่พึงมีต่อปู่ย่า – ตายาย

1.มอบความรักความห่วงใย คุณรู้ไหมว่าปู่หรือย่าอาจรักคุณมากกว่าพ่อแม่เสียอีก ความรักเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือสัญชาติญาณมนุษย์ เราควรจะมอบความรักกลับแก่ท่านอย่างเหมาะสม ให้มองว่าพวกท่านเปรียบเสมือนพ่อหรือแม่ของเราที่ห่วงใยไม่แพ้กัน

2.เชื่อฟังคำสั่งสอนของพวกท่าน เนื่องจากประสบการณ์ผ่านโลกที่มากกว่า ทำให้ได้รู้จักกับเรื่องดีๆ ร้ายๆ มามาก บ่อยครั้งที่ท่านมักจะเตือนบ่อยๆ สิ่งไหนควรทำ แล้วสิ่งไหนไม่ควรทำ การเชื่อฟังคำสั่งสอนถือเป็นคุณสมบัติของคนเป็นหลานที่ดี เพราะทุกอย่างที่ท่านสั่งสอนล้วนแล้วแต่เพื่อความหวังดี

3.ดูแลเอาใจใส่ด้วยความจริงใจ การดูแลคนเฒ่าคนแก่เป็นเรื่องที่พึงสำหรับสมาชิกในครอบครัว พวกท่านเปรียบเสมือนเป็นเสาหลักของครอบครัว คอยยึดเหนี่ยวสมาชิกทุกคนเข้าไว้ด้วยกัน เป็นที่ปรึกษาในยามทุกข์ใจ เป็นทุกอย่างให้กับหลานรักของพวกเขา ดังนั้นการดูแลเอาใจใส่ท่านด้วยความ

4.เป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ในครอบครัว หลานเปรียบเสมือนตัวกลางที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ – ปู่ย่า ไม่ว่าทั้งสองจะมีปัญหาระหว่างกันอย่างไร พวกเขาก็จะยอมจับมือกันเมื่ออยู่ต่อหน้าหลานรักของพวกเขา นี่เป็นอีกตัวอย่างที่ดีถึงคำอธิบายว่า “ความรักชนะทุกสิ่ง” แม้แต่ทิฐิในใจคนเรา